เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [2. โพชฌังคสังยุต]
5. จักกวัตติวรรค 7. อทลิททสูตร

โพชฌงค์ 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ 7. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุ เรากล่าวว่า ‘มีปัญญา ไม่เป็นคนเซอะ’ ก็เพราะโพชฌงค์ 7 ประการนี้
ที่บุคคลนั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว”

ปัญญวันตสูตรที่ 5 จบ

6. ทลิททสูตร
ว่าด้วยเหตุให้เป็นคนจน

[227] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘คนจน คนจน’ ด้วยเหตุเพียง
เท่าไรหนอ พระองค์จึงตรัสว่า ‘คนจน’ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เรากล่าวว่า ‘คนจน’ ก็เพราะโพชฌงค์ 7 ประการที่บุคคลนั้นไม่เจริญ
ไม่ทำให้มากแล้ว
โพชฌงค์ 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ 7. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุ เรากล่าวว่า ‘คนจน’ ก็เพราะโพชฌงค์ 7 ประการนี้ที่บุคคลนั้นไม่เจริญ
ไม่ทำให้มากแล้ว”

ทลิททสูตรที่ 6 จบ

7. อทลิททสูตร
ว่าด้วยเหตุให้เป็นคนไม่จน

[228] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘คนไม่จน คนไม่จน’ ด้วยเหตุเพียง
เท่าไรหนอ พระองค์จึงตรัสว่า ‘คนไม่จน’ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :158 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [2. โพชฌังคสังยุต]
5. จักกวัตติวรรค 8. อาทิจจสูตร

“ภิกษุ เรากล่าวว่า ‘คนไม่จน’ ก็เพราะโพชฌงค์ 7 ประการที่บุคคลนั้นเจริญ
ทำให้มากแล้ว
โพชฌงค์ 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ 7. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุ เรากล่าวว่า ‘คนไม่จน’ ก็เพราะโพชฌงค์ 7 ประการนี้ที่บุคคลนั้นเจริญ
ทำให้มากแล้ว”

อทลิททสูตรที่ 7 จบ

8. อาทิจจสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยดวงอาทิตย์

[229] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์กำลังจะอุทัย ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็น
บุพนิมิต ฉันใด กัลยาณมิตตตา (ความเป็นผู้มีมิตรดี) ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิต
เพื่อความเกิดขึ้นแห่งโพชฌงค์ 7 ประการ ฉันนั้น
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร (มิตรดี) พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญโพชฌงค์ 7 ประการ
ทำโพชฌงค์ 7 ประการให้มาก’
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญโพชฌงค์ 7 ประการ ทำโพชฌงค์ 7
ประการให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก ฯลฯ
7. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญโพชฌงค์ 7 ประการ ทำโพชฌงค์ 7
ประการให้มาก อย่างนี้แล”

อาทิจจสูตรที่ 8 จบ